BCG Model สู่ BCG Tourism ส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตรไทย
สารบัญเนื้อหา
เมื่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อุบัติขึ้นบนโลก อุตสาหกรรมต่าง ๆ ถูกบีบบังคับให้ขับเคลื่อนไม่ได้ การดำเนินชีวิตต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ นอกจากความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว วิกฤติการณ์นี้ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือการที่ธรรมชาติซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนที่เราใช้ไปกับการท่องเที่ยวได้โอกาสในการฟื้นฟูให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
และประเทศไทยเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในเรื่องอาหาร วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายในประเทศ
ทั้งนี้เพื่อเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานและวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างสิ้นเปลือง หลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะให้สถานที่ท่องเที่ยว และพัฒนาหรือแปรรูปผลผลิตด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ จึงสามารถนำแนวคิด BCG Model มาประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีอินทรีย์ในไทยได้
สนใจเช่ารถบัส ติดต่อสอบถามข้อมูล
ทำความรู้จักหลักการของ แนวคิด BCG
BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่
B - Bioeconomy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ
การทำเศรษฐกิจชีวภาพ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีการจัดการผลผลิต ในรูปแบบ Smart Farming ที่เน้นการดูแลผลผลิตและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีอินทรีย์อย่างครบวงจร มีการดูแลกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หรือการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพและปลอดสารเคมีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชนวิถีอินทรีย์
ตัวอย่างการทำศรษฐกิจชีวภาพ เช่น วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง จังหวัดนครปฐม เป็นตัวอย่างการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเศรษฐกิจชีวภาพ เพราะมีการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ปลอดสารเคมีหมุนเวียนกว่า 20 ชนิด ตลอดจนมีระบบจัดการตั้งแต่การเตรียมดิน การจัดการแปลงเพาะปลูก ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและการขายผลผลิตเพื่อสร้างรายได้ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
C - Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน
การทำเศรษฐกิจหมุนเวียน คือการนำเอาผลผลิตหรือบริการในท้องถิ่นที่มีอยู่นำมาทำให้เกิดการหมุนเวียน ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การออกแบบการผลิตตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้วัตถุดิบถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และสามารถนำวัตถุดิบกลับมาใช้ซ้ำ ปรับปรุง ซ่อมแซม หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยต้องเป็นวัตถุดิบที่สามารถผลิตทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ ทั้งนี้จะช่วยลดปริมาณการใช้วัตถุดิบ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ใช้งานได้หลากหลาย และสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการทำเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ คุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นปอดของกรุงเทพฯ และ The best Urban Oasis of Asia โดยนิตยสาร Time ซึ่งสมาชิกในชุมชนมีการนำเอาผลผลิตท้องถิ่นมาแปรรูป เช่น การทำวิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ กิจกรรมบริการนวดและสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร จำหน่ายหมอนรองคอ เข็มขัดธัญพืช หมอนคลุมไหล่ หมอนกดจุด ธูปหอมสมุนไพร ผ้ามัดย้อม และบริการโฮมสเตย์ที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้ใบตองและวัสดุย่อยสลายง่ายบรรจุอาหาร ส่งเสริมให้ใช้ถุงผ้า และปั่นจักรยานท่องเที่ยวแทนการใช้รถยนต์
G - Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว
ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียน อยู่ภายใต้กรอบเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Economy ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเกษตรให้มีความยั่งยืน โดยลดการสร้างมลพิษหรือใช้สารเคมี ทั้งจากชุมชนและนักท่องเที่ยว ลดปริมาณขยะและสามารถแปรรูปให้เกิดมูลค่า พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวร่วมกันอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุด
ตัวอย่างการทำเศรษฐกิจสีเขียว เช่น ชุมชนบ้านอำเภอ จังหวัดชลบุรี เป็นชุมชนต้นแบบด้านการทำแหล่งท่องเที่ยวเศรษฐกิจสีเขียว เนื่องจากเดิมในชุมชนมีปัญหาขยะมากถึงวันละ 37 ตัน และขยะตามฤดูกาลที่พัดมาจากทะเล โดยมีการแก้ปัญหาโดยนำขยะพลาสติกมาผ่านกระบวนการเปลี่ยนรูปเป็นวัสดุก่อสร้างเพื่อจำหน่ายเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และมีเป้าหมายพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ และห้องทดลองเพื่อพัฒนาวัสดุใหม่ ๆ และสนับสนุนด้านการจัดการขยะพลาสติกอัพไซคลิ่ง เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนมีโอกาสเป็นผู้นำในการรณรงค์เรื่องการจัดการขยะชุมชนด้วยตนเอง
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย BCG Model จะช่วยให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวมีบทบาทร่วมกันในการดูแลแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน และเราเชื่อว่ายังมีอีกหลายชุมชนที่ต้องการทำแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นวิถีอินทรีย์ด้วยแนวคิด BCG Model ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เพราะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์และสินค้าต่าง ๆ ในพื้นที่ อาทิ ส่งเสริมโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปรู้จักกับผลิตภัณฑ์ OTOP และสินค้า GI ซึ่งจะทำให้เกิดกระจายรายได้สู่ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ในพื้นที่ และยังสามารถเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนตลอดไป
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในปี 2562 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท ถึงแม้ในอดีตการท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้น แต่ก็มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยปัญหาที่สำคัญในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือเรื่องขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) โดยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ทรัพยากรธรรมชาติทางการท่องเที่ยว ในอนาคตเราจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและยั่งยืน และควรเน้นคำว่า “กำไร” มากกว่าคำว่า “รายได้” โดยกำไรอาจหมายถึงการที่ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีความสมดุลกันระหว่างอุปสงค์ (Demand) ที่เป็นความต้องการของนักท่องเที่ยว และอุปทาน (Supply) สินค้า/บริการทางการท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ประกอบการหรือธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยว (Tourism Supply Chain) สามารถทำกำไรมากกว่าขาดทุน เลิกเบียดเบียนต้นทุน พร้อมทั้งเติมต้นทุน โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องสังคม วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
โดยการนำจุดแข็งของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาต่อยอดและยกระดับมูลค่าสินค้าและบริการ โดยในระยะแรกจะมุ่งเน้น 4 สาขายุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ 1) เกษตรและอาหาร 2) สุขภาพและการแพทย์ 3) พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ และ 4) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ทำไมต้องทำกิจกรรม CSR ทำแล้วได้อะไร
“การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์” จึงเป็นการท่องเที่ยวตามแนวคิด BCG ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งเริ่มต้นแนวคิดการท่องเที่ยวใหม่โดยใช้การวิจัยความรู้ในเรื่องขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) นโยบายรัฐบาล (Government Policy) และ มาตรฐานระดับประเทศ (National Standard) เข้ามาจัดระเบียบทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม เกิด Demand และ Supply ที่สมดุลกัน ทำให้ด้าน Supply สามารถมองหามาตรฐานในการปรับปรุงสินค้าและบริการของตนเองในแนวคิดของ BCG Model ได้
BCG Model เป็นกลไกที่มีศักยภาพสูงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสามารถสร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในบางสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ จึงได้กำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน BCG Model ดังนี้จึงได้กำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน BCG Model ดังนี้
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อลดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวในเมืองหลัก
- พัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการโดยคนในชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและอัตลักษณ์ของสินค้าทางการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่
- บริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ สร้างมาตรฐานความสะอาด สะดวก ปลอดภัย
- นำเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาใช้พัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว โดยจะต้องคำนึงถึงต้นทุนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
- ส่งเสริมสินค้า GI ที่กระทรวงพาณิชย์พัฒนาขึ้นมาไว้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นสินค้าที่น่าภูมิใจของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีทั้งเรื่องราวให้เล่าขาน มีลักษณะเฉพาะตัว และมีคุณค่า ทำให้คนไทยเกิดความภูมิใจในประเทศไทยจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ อยากเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ลดการพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างประเทศ
การส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยเชิญชวนให้เกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์ ผู้ประกอบการโรงแรมร้านอาหาร และนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้บริโภคเมนูอาหารที่ทำจากวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ มาร่วมกันใช้ Platform ของ “สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย” หรือ TOCA (Thai Organic Consumer Association) ซึ่ง TOCA Platform เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ โดยจะมีส่วนร่วมในงานด้านการจัดการงานต้นน้ำ (การทำเกษตรอินทรีย์) ด้านการจัดการงานซื้อขาย (E-commerce: B2B, B2C) ด้านสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการและผู้บริโภค และด้านการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic)
โดยรัฐบาลคาดหวังว่าโมเดลเศรษฐกิจ BCG จะช่วยส่งเสริมภาคเกษตรกรรมที่เป็นสาขาหลักของประเทศที่ยังคงอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก และจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีกระบวนการผลิตที่ไม่ทิ้งร่องรอยเสียหายให้กับประเทศ โดยการท่องเที่ยวจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยเล่าเรื่องที่ทำให้นักท่องเที่ยวเห็นคุณค่าของสินค้าและบริการได้ ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะต้องพยายามนำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ดี พร้อมทั้งจะต้องต่อยอดความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อทำให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในมิติด้านการท่องเที่ยวเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท แดช เอ็มวี จำกัด
ที่อยู่: 39 หมู่ 14 ถนนบางนา-ตราด บางแก้ว บางพลี สมุทรปราการ 10540
เบอร์โทร. 092-185-6699
Line: @DASHMV
DASH MV
สำหรับผู้ที่สนใจ
ทางเรามีบริการให้เช่ารถบัส
ทั้งแบบรายวัน และรายเดือน
การเดินทางในประเทศไทยนั้นกินพลังงานชีวิต เรียกว่าเป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในชีวิตประจำวันก็ว่าได้ เนื่องจากการเดินทางในประเทศของเราด้วยรถสาธารณะนั้นยังมีตัวเลือกให้บริการอย่างไม่เพียงพอ โดยเฉพาะถ้าหากเป็นพื้นที่นอกตัวเมือง การหารถสาธารณะเพื่อเดินทางให้ถึงจุดหมายยิ่งยากขึ้นเป็นเท่าตัว ด้วยเหตุนี้ “รถรับส่งพนักงาน” จึงเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการหรือบริการที่แต่ละองค์กรควรให้ความสนใจ เพื่อที่จะได้เข้ามาอุดรอยรั่วดังกล่าวและทำให้พนักงานรู้สึกได้รับการอำนวยความสะดวก ทำให้มีกำลังใจในการเดินทางมาทำงานในแต่ละวันเนื่องจากไม่ต้องเสียแรงยืนรอหรือเบียดเสียดกับผู้อื่นเพื่อใช้รถสาธารณะ ดังนั้นในวันนี้เราจะพาทุกคนมาดูกันว่าทำไมแต่ละองค์กรจึงควรมีรถรับส่งพนักงาน รวมถึงขั้นตอน สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำสวัสดิการรถรับส่งพนักงานแบบมืออาชีพด้วยว่าเป็นอย่างไร