7 วิธีบริหารเงินหลังไปเที่ยวปีใหม่ ให้มีเงินใช้ไปจนถึงสิ้นเดือน
“เทศกาลปีใหม่” เป็นอีกช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และเดินทางกลับไปหาครอบครัวหรือไปเที่ยวต่างจังหวัดกันอย่างคึกคัก แต่พอหลังจากจบเทศกาล สุขภาพทางการเงินในกระเป๋าก็ไม่ค่อยมีเหลือ ดังนั้นเมื่อเราวางแผนไปพักผ่อนได้ เราก็ต้องวางแผนในการบริหารเงินได้เช่นกัน วันนี้ DASH MV จะมาแชร์เทคนิคดีๆ ในการบริหารเงินช่วงปีใหม่ให้มีเงินเหลือใช้ถึงสิ้นเดือนมาฝาก
สารบัญเนื้อหา
เลือก เช่ารถบัส อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน
1. สรุปรายการใช้จ่าย และวางแผนการประหยัด
หลังจากกลับมาแล้วก็ควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยคำนวณจากจำนวนเงินที่เรามีเหลืออยู่ แล้วหารเฉลี่ยต่อวันว่าใช้สูงสุดได้กี่บาท หรือหากมีเงินเย็นพอสมควร แต่ต้องการประหยัด ให้คำนวณจากเงินที่เราใช้ไป ‘มากกว่าปกติ’ เพื่อดูว่าควรประหยัดกว่าปกติเท่าไรในแต่ละวัน
การคำนวณค่าใช้จ่ายจากการเที่ยวทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราควรทำ เพื่อให้เราสามารถประมาณการได้ถูกว่า ทริปไปเที่ยวครั้งหนึ่งนั้นเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า ค่าเดินทาง ถ้ารูดบัตรเครดิตบ่อยๆ ก็ลองเก็บสลิปบัตรแล้วดูว่าเป็นค่าอะไรจำนวนเท่าไหร่ คุณจะได้รู้ไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของตัวเอง แล้วควบคุมเงินในกระเป๋าได้มากขึ้น
2. ประหยัดค่าอาหาร
ช่วงปีใหม่เป็นช่วงที่ใครหลายคนลงความเห็นว่า ควรจัดหนักในเรื่องอาหารการกิน ดังนั้นการลดค่าใช้จ่ายอย่างค่าอาหารในช่วงหลังปีใหม่ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยค่าอาหาร เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ อีกทั้งยังเป็นอะไรที่ใกล้ตัวที่สุดในการลดค่าใช้จ่ายลง แต่ถ้าบริหารเรื่องค่าอาหารดีๆ ก็ช่วยประหยัดไปได้เยอะมาก วิธีการตั้งเป้าหมาย จดบันทึกว่าช่วงสงกรานต์ใช้จ่ายไปกับอาหารมากขึ้นมากน้อยแค่ไหน นำส่วนที่เกินนั้นมาหารเฉลี่ยในช่วง 10 วันที่เหลือของเดือนเมษายน เป็นเป้าหมายเบื้องต้นในการประหยัดเงินในแต่ละวันของเรา
3. จัดบ้านก็ช่วยประหยัดได้
ปีใหม่เป็นนิมิตรหมายที่ดีในการจัดบ้าน ลองจัดระเบียบสิ่งของที่มีก็อาจพบว่ามีเสื้อผ้าบางตัวที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใส่เลย หรือของบางชิ้นที่เคยอยากได้มากๆ แต่ซื้อมาแล้วยังไม่ได้ใช้เพราะลืมนึกถึงไป นอกจากจะประหยัดเงินจากการซื้อของใหม่แล้ว คุณยังสามารถหารายได้เพิ่มเติมจากของที่คุณมี ปัจจุบันแพลตฟอร์มการขายของออนไลน์ ช่วยให้ใครๆ ก็สามารถขายของมือสองดีๆ ได้ไม่ยาก
สนใจเช่ารถบัส ติดต่อสอบถามข้อมูล
4. ตัดรายจ่ายจุกจิกออก
ในเดือนหนึ่งๆ เชื่อว่าจะต้องมีรายจ่ายบางอย่างที่ไม่คอขาดบาดตายมาก และสามารถตัดออกไปได้โดยที่ไม่ทำให้เราลำบาก ลิสต์รายจ่ายเหล่านั้นออกมา หากตัดออกได้ให้ตัด หรือหากทำได้ยาก ให้มองหาทางเลือกทดแทนที่ประหยัดกว่า
5. ใช้สิทธิพิเศษที่เรามี
หลายๆ คนลืมไปแล้วว่าตัวเองมีสิทธิพิเศษ ดีลต่างๆ อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิพิเศษจากค่ายมือถือที่เราใช้ จากแอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ บริการการเดินทางที่สะสมแต้มได้ ที่สามารถนำแต้มมาแลกเป็นส่วนลดค่าอาหาร ตั๋วชมภาพยนตร์ฟรี หรือสิทธิอื่นๆ อีกมากมาย ถ้ามีของดีในมืออย่าลืมนำออกมาใช้ เพราะเดือนๆ หนึ่งก็ช่วยประหยัดไปได้ตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลักพันบาท
6. ลดเงินท่องเที่ยวของเดือนอื่นๆ
การลดงบท่องเที่ยวของเดือนอื่นลงก็เป็นอีกข้อที่ช่วยได้ เพราะว่าเราใช้จ่ายไปกับเดือนนี้เยอะแล้ว จากความเคยชินที่เคยวางแผนจะไปต่างจังหวัดทุกเดือน ก็ให้ลดๆ ลงหน่อยในเดือนถัดไป ลองไปเที่ยวในสถานที่ใกล้ๆ แทน เพื่อที่ค่าใช้จ่ายจะได้น้อยลงกว่าไปทริปใหญ่ๆ และแบบนี้จะช่วยให้เราทั้งมีความสุขและสบายกระเป๋ามากขึ้น
7. ตั้งเป้าหมายด้วยการวางแผนการเงินสำหรับเที่ยวในปีหน้า
ไม่มีอะไรจะช่วยได้มากกว่าการวางแผนล่วงหน้าได้อีกแล้ว ควรจะตั้งเงินก้อนที่เราตั้งใจว่าเอามาใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว โดยประมาณจากทริปที่อยากไปในปีหน้า จะได้ไม่ต้องปวดหัวระหว่างใจนึงอยากเที่ยวอีกใจก็อยากเก็บเงิน และนอกจากงบท่องเที่ยวก็ควรตั้ง “งบฉุกเฉิน” เอาไว้ด้วย เพราะเราไม่สามารถรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้เลย เพราะอาจจะมีอุบัติเหตุหรือเรื่องไม่คาดฝันตามมาก็ได้
คุณสามารถไปใช้เงินส่วนหนึ่งกับการเที่ยวได้ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ควรมีการเตรียมตัวให้ดี เพราะการวางแผนที่ดีจะช่วยให้เราทั้งบริหารทั้งเงินและบริหารความสุขไปพร้อมๆ กัน ทำให้เมื่อกลับจากไปชาร์ตพลังในทริปแสนประทับใจ แล้วยังไม่ต้องกังวลกับปัญหาทางการเงินที่ตามมาด้วย
หากใครที่สนใจใช้บริการเช่ารถบัสนำเที่ยว เช่ารถบัสรับส่งนักเรียน เช่ารถบัสรับส่งพนักงาน ของ DASH MV ได้ที่เบอร์ 092-185 6699 หรือ LINE: @DASHMV ซึ่งจะทำให้การเดินทางของคุณจะปลอดภัยและสบายใจได้อย่างแน่นอน เพราะความปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
DASH MV
สำหรับผู้ที่สนใจ
ทางเรามีบริการให้เช่ารถบัส
ทั้งแบบรายวัน และรายเดือน