fbpx

สถานการณ์แนวโน้มการท่องเที่ยวในประเทศไทย

การท่องเที่ยว

สารบัญเนื้อหา

สนใจเช่ารถบัส ติดต่อสอบถามข้อมูล

จากบรรยากาศการท่องเที่ยวโลกที่กำลังฟื้นตัวอาเซียนกำลังเผชิญความท้าทายจากการระบาดของโรคCOVID-19 ที่ยังคงสร้างความไม่มั่นคงให้กับภาคการท่องเที่ยว โดยมาตรการควบคุมการเดินทางหรือมาตรการกักตัวสามารถถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทุกเมื่อ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรค ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับประเทศสิงคโปร์และไทยที่ระงับช่องทางการเดินทางของนักท่องเที่ยวในช่วงเดือนมกราคม และกลับมาเปิดใหม่ในเดือนนี้ดังนั้น นโยบายในการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศอาเซียนจึงอยู่ในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้ข้อมูลว่า ททท.เตรียมแผนสำหรับพลิกโฉมการท่องเที่ยวไทย โดยวางไทม์ไลน์ในการปรับยุทธศาสตร์ไปสู่การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หรือ high-value & sustainable tourism ภายใต้แผน 3R ประกอบด้วย

1.Reopen (Q3 ปี 2564) ซึ่งเป็นช่วงทดลองเปิดภายใต้นโยบาย Phuket Sandbox
2.Recover (Q4-ปี 2565) เป็นช่วงการเปิดประเทศเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564
3.Resilient (ปี 2566-2570) เป็นช่วงการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและความยั่งยืน

ทิศทางการขับเคลื่อนสำหรับการท่องเที่ยว

โดยทิศทางการขับเคลื่อนสำหรับปี 2565 นี้ ทาง ททท.จะคงความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยเร่งให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวเร็วและเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และเป็นเซ็กเตอร์สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยและก้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดยมีทิศทางการส่งเสริมดังนี้ 

สำหรับตลาดต่างประเทศนั้น ททท.จะมุ่งส่งเสริมกับกลุ่มเป้าหมายคุณภาพ เน้นทำการตลาดผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ และรักษาความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 

ส่วนตลาดในประเทศ ททท.จะมุ่งส่งเสริมและสนับสนุน “ไทยเที่ยวไทย” ภายใต้แนวคิด BCG และ Local Economy Development Model ควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรมท่องเที่ยว โดยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการในลักษณะอัพสกิลและรีสกิล

นอกจากนี้ ททท.จะมุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความยั่งยืน โดยสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปปรับใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และให้ความสำคัญกับการลงทุนในการพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และร่วมพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล

ในปี 2565 จะเป็นปีแห่งการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย มุ่งสู่การเน้นคุณค่าและความยั่งยืน มุ่งเจาะนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ เพื่อสร้างรายได้นำไปสู่การพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งกระจายความมั่งคั่งสู่ท้องถิ่นชุมชน สร้างความสมดุลระหว่างแหล่งท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตามกรอบแนวคิด BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเป็นหลัก

สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่มีความเต็มใจใช้จ่ายสูง และนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง ประกอบด้วย ประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ผู้ต้องการทำงานจากประเทศไทย ผู้ที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ กลุ่มมิลเลนเนียล (Gen Y) กลุ่มแอ็กทีฟ ซีเนียร์ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และนักท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเต็มใจจ่ายเพิ่มเพื่อตอบสนองคุณค่าประสบการณ์และการสร้างสังคมสุขภาวะ

เป้าหมายในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

ททท. มีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสำหรับปี 2565 รวมที่ 1.12 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากตลาดต่างประเทศ 6.3 แสนล้านบาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคน และจากตลาดในประเทศ 4.9 แสนล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทย 120 ล้านคน/ครั้ง

ทั้งนี้ จะเน้นเป้าหมายด้านรายได้เป็นหลัก โดยมุ่งทำการตลาดเพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดการใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้น เพื่อให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถรักษาสถานภาพในความเป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ โดยจะใช้ตัวชี้วัดเป้าหมายใน 3 ด้านหลักประกอบด้วย

  1. อัตราการเข้าพักแรม (OR : Occupancy Rate) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนการเดินทาง โดยต้องมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั่วประเทศทั้งปีไม่ต่ำกว่า 50%
  2. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (SP : Spending per Trip) โดยตั้งเป้าให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวที่ 62,580 บาท และนักท่องเที่ยวคนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวที่ 4,100 บาท
  3. อัตราการบรรทุกผู้โดยสารของสายการบิน (CF : Cabin Factor) โดยอัตราการบรรทุกผู้โดยสารสำหรับสายการบินต่างชาติเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 50% และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารสำหรับสายการบินในประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 80%

สรุป

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่านักเดินทางยังคงกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของพวกเขาเกิดจากที่ภาครัฐและเอกชนมีมาตรการที่ชัดเจนตลอดการเดินทาง

ที่สำคัญคือ ความปรารถนาของนักเดินทางในการสำรวจโลกยังคงไม่ลดน้อยลง ทำให้มีความหวังสำหรับอนาคตของอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว และความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในการสร้างความแตกต่างที่มีความหมายต่อชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้คน

สามารถติดต่อเช่ารถบัสท่องเที่ยวได้ที่
ที่อยู่:  39 หมู่ 14 ถนนบางนา-ตราด บางแก้ว บางพลี สมุทรปราการ 10540
เบอร์โทร. 092-185-6699
Line: @DASHMV

DASH MV
บริการเช่ารถบัส รถโค้ช ขนาด 39-45 ที่นั่ง รถที่ให้บริการเป็นรถที่นำเข้าจากต่างประเทศและเป็นรถใหม่ทุกคัน มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลและมีระบบความปลอดภัยสูง เพราะเราใส่ใจเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของลูกค้าเป็นหลัก
บริษัทเช่ารถบัส
บริการเช่ารถบัส

สำหรับผู้ที่สนใจ

ทางเรามีบริการให้เช่ารถบัส
ทั้งแบบรายวัน และรายเดือน

หมวดหมู่บทความ