fbpx

CSR คืออะไร มาทำความรู้จักกับกิจกรรมเพื่อสังคม

CSR คือ

สารบัญเนื้อหา

ความหมายของ CSR : Corporate Social Responsibility

CSR เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษ ได้แก่คำว่า corporate social responsibility หากแปลแยกแต่ละคำก็จะได้ว่า corporate หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร social หมายถึงสังคม กลุ่มสังคมอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการพัฒนาสังคมไหน responsibility หมายถึงการร่วมรับผิดชอบ ทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการทำธุรกิจ จนมาถึงการทำกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ซึ่งถ้าแปลโดยรวมแล้วคำว่า CSR หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย CSR สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับ 1 Mandatory Level

ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค,กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น

ระดับ 2 Elementary Level

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level

จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

ระดับ 4 Voluntary Level

ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม

แม้การทำ CSR จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด แต่จะต้องวางกลยุทธ์ให้ดี ไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกได้ว่า เป็นการสร้างภาพลักษณ์มากจนเกินไป ที่สำคัญควรทำด้วยใจ เพราะไม่เพียงสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรเท่านั้น แต่ชุมชน มูลนิธิ หรือคนอื่นๆ ก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย

สำหรับการทำ CSR ที่ดีจะต้องสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ที่สำคัญควรจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การทำ CSR นั้นเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ที่สำคัญสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์ในสายตาคนในสังคมได้

สนใจเช่ารถบัส ติดต่อสอบถามข้อมูล

CSR มีความสำคัญอย่างไร

CSR มีความสำคัญกับองค์กร เพราะองค์กรไม่สามารถประกอบการได้หากไม่มีสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย แรงจูงใจของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมก็คือการรักษาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานต่อไปได้ในระยะยาว แม้จะเสียกำไรในระยะสั้น

ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีมาตรการบังคับทางกฎหมาย แต่องค์กรส่วนมากก็อยากให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบทางสังคม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเพราะองค์กรอยากทำดีด้วยตัวเอง ทำดีเพราะอยากกระตุ้นพนักงาน หรือทำดีเพราะอยากให้ลูกค้าประทับใจ

การที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น แปลว่าลูกค้าก็จะรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกิดขึ้นที่เป็นผลกระทบจากการกระทำขององค์กร ในกรณีนี้คนส่วนมากก็เริ่มมีความคาดหวังให้องค์กรรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น หลายคนเลือกหาเฉพาะสินค้าจากองค์กรที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยซ้ำในเชิงของธุรกิจนั้น หากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม แปลว่าองค์กรสามารถดึงดูดลูกค้าที่ชอบสินค้าที่รับผิดชอบต่อสังคมได้ ก็เท่ากับว่าองค์กรจะสามารถเรียบเรียงความต้องการของลูกค้าและการกระทำขององค์กรให้ตรงกันได้

รู้จักประเภทของ CSR

การทำ CRS นั้นมีหลากหลายรูปแบบกิจกรรม เพราะไม่ได้มีกฎตายตัว ทำให้การสร้างสรรค์กิจกรรมออกมาได้หลายรูปแบบมาก ซึ่งสามารถคัดแยกแบ่งกลุ่มกิจกรรม CSR ไว้ได้ดังนี้

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตสิ่งของที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, ความรับผิดชอบต่อลูกค้า, การทำกิจกรรมลดโลกร้อน เป็นต้น

After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ เป็นต้น

“CSR ก็คือ หน้าที่หนึ่งของบริษัทในฐานะพลเมืองของ สังคม เป็นสิ่งที่องค์กรต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีในสังคม”

แนะนำกิจกรรมจิตอาสา สำหรับการทำกิจกรรม CSR

แนวทางการทำ CSR

ผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับเป้าหมายส่วนตัว อาทิ เป้าหมายด้านสุขภาพหรือหน้าที่การงาน แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็เริ่มให้ความสำคัญกับบริษัทหรือแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มากขึ้น โดยเป้าหมายของธุรกิจนั้น ไม่ได้วัดเพียงแค่ด้านผลกำไรหรือตัวเลข แต่ต้องเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณชนด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอยากแนะนำแนวทางการทำ CSR ดังนี้

1. การลงทุนริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยอาจจะสนับสนุนองค์กรระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ผ่านการบริจาค หรือแม้แต่อาจจัดงานรณรงค์ เพื่อแก้ปัญหาใดๆ และอาจใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในการเป็นกระบอกเสียง เพื่อให้คนหันมาเห็นความสำคัญของปัญหา หรือเข้ามาช่วยเหลือ บางองค์กรอาจส่งเสริมหรือเชิญชวนให้พนักงานบริจาค เพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การสร้างรายได้ หรือด้านสุขภาพ เป็นต้น

2. การใช้แรงงานอย่างมี "จริยธรรม"

องค์กรต่างๆ เริ่มตระหนักว่าทั้งพนักงานมีแนวโน้มจะเป็นพนักงาน ในอนาคตล้วนมองหาบริษัทที่ดูแลพนักงาน ทั้งในและนอกเวลางาน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรดึงดูดคนที่มีความสามารถมากพอ และมีจริยธรรมธุรกิจที่ดี ด้วยการให้แรงจูงใจที่ดีและแข่งขันได้ สร้างสถานที่ทำงานที่สะดวกสบาย และสร้างความผูกพันในหมู่พนักงานเสมอๆ

3. การส่งเสริมการทำบุญเพื่อการกุศล

อาจมีพันธกิจในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งทีมงานด้านความรับผิดต่อสังคมขึ้นมา เพื่อให้องค์กรสามารถช่วยเหลือกลับคืนสู่สังคม เช่น บางบริษัทอาจจูงใจให้พนักงานร่วมทำการกุศล หรืออาจไปร่วมกับพันธมิตร ภายนอกองค์กรเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาหนทางที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงหันมาสนับสนุนแบรนด์หรือธุรกิจที่ทำเช่นเดียวกัน

4. การใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาหนทางที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงหันมาสนับสนุนแบรนด์หรือธุรกิจที่ทำเช่นเดียวกัน

5. การมุ่งลดโลกร้อน

ซึ่งเป็นกระแสในปัจจุบันพอดี ธุรกิจต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือลดภาวะโลกร้อน โดยมีหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ เช่น การเพิ่มการรีไซเคิล การลดการใช้พลังงาน และนำการบริหารจัดการของเสีย เช่น การลดการใช้กระดาษ การนำของเสียกลับมาทำปุ๋ย การลดการใช้พลาสติก และการออกนโยบายต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น นโยบายการเดินทางโดยรถสาธารณะ คาร์พูล หรือการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ใช้รถไฮบริด หรือการเข้าพักที่โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การทำ CSR ถือว่าเป็นการทำประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงช่องทางของผู้บริโภคกับชุมชนได้ดี ที่สุดและสามารถวางแผนร่วมกับการทำประชาสัมพันธ์ขององค์การได้ ดังนั้น การทำ CSR ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก  นอกจากนี้การทำ CSR ไม่ใช่เป็นการแข่งขันในการทุ่มเงินเพื่อสังคม ทว่าเป็นทำอย่างไรให้พนักงานมีใจที่เป็น CSR โดยแนวทางนี้ถือเป็นการนำ CSR ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะยังมีผลประโยชน์ทางอ้อมในการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในองค์กรอีกด้วย

เริ่มทำ CSR อย่างไรดี

1.ต้องพิจารณาว่ากิจกรรมนั้นทำแล้วส่งผลต่อผู้อื่น สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศโดยรวมหรือไม่ การทำ CSR จะเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานนั้น ไม่ว่าจะดำเนินการตามข้อกฎหมายกำหนด หรือเป็นการบรรเทาผลกระทบนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้

2. “สังคม” ที่อยู่ในคำว่า “Corporate Social Responsibility” คือ การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรก่อน และต้องมีความรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนหรือผลตอบแทนให้ตรงต่อเวลาการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร

3.  ผู้บริหารหรือผู้จัดการที่องค์กรต้องรับผิดชอบดeเนินการจัดวางระบบการบริหารให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ มีโครงสร้างและกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมค่านิยมองค์กรและทัศนคติของบุคลากรที่เอื้อต่อการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม  เพื่อเป็นรากฐานให้เกิดการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร

สรุป

องค์กรที่เริ่มจากการทำ CSR ภายในองค์กรได้ดั่งข้างต้นจะมีความพร้อมต่อการขับเคลื่อน CSR ภายนอกองค์กรมากกว่าองค์กรที่เริ่มต้นจากการทำกิจกรรม CSR เพื่อสังคมภายนอก ตั้งแต่แรก อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เริ่มจากการมีบรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance (CG) ในองค์กร ซึ่งเป็นฐานสำหรับการดำเนิน เรื่อง CSR กับสังคมภายนอกองค์กรในขั้นต่อไป หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หน่วยงานที่กำลังเริ่มทำ CSR ได้เข้าใจว่าควรจะเริ่มทำ CSR จากตรงจุดไหนก่อน

หากใครที่สนใจไปทำกิจกรรม CSR สามารถติดต่อใช้บริการเช่ารถบัส ของ DASH MV ได้ที่เบอร์ 092-185 6699 หรือ LINE: @DASHMV ซึ่งจะทำให้การเดินทางของคุณจะปลอดภัยและสบายใจได้อย่างแน่นอน เพราะความปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

DASH MV
บริการเช่ารถบัส รถโค้ช ขนาด 39-45 ที่นั่ง รถที่ให้บริการเป็นรถที่นำเข้าจากต่างประเทศและเป็นรถใหม่ทุกคัน มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลและมีระบบความปลอดภัยสูง เพราะเราใส่ใจเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของลูกค้าเป็นหลัก
บริษัทเช่ารถบัส
บริการเช่ารถบัส

สำหรับผู้ที่สนใจ

ทางเรามีบริการให้เช่ารถบัส
ทั้งแบบรายวัน และรายเดือน

หมวดหมู่บทความ